ในปัจจุบันกระแส IoT (Internet of Thing) กำลังมาแรงมันไม่ใช่เรื่องยากแล้วในการเขียนโปรแกรมบนอุปกรณ์ Embedded System เพื่อทำการควบคุมหลอดไฟ เครื่องจ่ายน้ำ หรืออ่านค่าจาก Sensor ต่างๆ เราจะมาเริ่มเข้าสู่โลกของ IoT กันเลย ในที่นี้เราจะนำ Raspberry Pi มาทำเป็นเครื่อง Server กันครับ
Raspberry Pi คืออะไร?
Raspberry Pi เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่มีขนาดเพียงแค่หนึ่งฝ่ามือเท่านั้น ที่มีความสามารถเหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ทุกประการ ทั้งต่อจอ Monitor Lan หรือ Wifi ก็ใช้งานได้หมด หรือจะเอามาทำ Server ก็ได้ ที่จะต่างก็เพียงประสิทธิภาพการประมวลผลเท่านั้นที่สู้ไม่ได้ (ก็อย่างว่ามันเครื่องขนาดเท่านี้เองนี่) แต่แล้วทำไมคนส่วนใหญ่มักเลือกมันมาใช้ในงาน IoT นั้นก็เพราะว่าเจ้าเครื่องนี้มีสิ่งที่เรียกว่า GPIO (general purpose input/output) นั้นเอง ทำให้เราสามารถเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมและรับค่าจากอุปกรณ์ภายนอกไม่ต้องซื้ออุปกรณ์อะไรมาต่อพ่วง เช่น ควบคุม Relay Switch อ่านค่าจากอุปกรณ์ Sensor ต่างๆ อีกทั้งมีราคาที่ถูกมากประมาณ 1,300–1,600 บาทด้วยเหตุนี้ Raspberry Pi จึงนิยมนำมาใช้งานในด้าน IoT ซึ่งรุ่นล่าสุดที่ออกวางจำหน่ายคือ Raspberry Pi 3 Model B+ (09/05/2018)
ในเมื่อมันเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ดังนั้นมันจึงจำเป็นต้องมีระบบปฏิบัติการ Rasberry Pi สามารถลง OS ในตระกูล Linux ได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็น Raspbian, Ubuntu, SARPi หรือแม้แต่ MS Windows ก็สามารถลงได้ถ้าจะลงอะนะ แต่ระบบปฏิบัติการที่เป็นที่นิยมมากที่สุดก็เห็นจะเป็น Raspbian
Raspbian คืออะไร?
Raspbian เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับติดตั้งใช้งานบนบอร์ดขนาดเล็กนาม Raspberry Pi พัฒนามาจากระบบ Debian Linux เหมาะสำหรับนำมาใช้ทำแล็ป และงานวิจัยเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์แบบฝังตัว (Embedded System) โดยที่ Raspbian มีแพ็กแเกจให้ใช้งานกว่า 35,000 แพ็กเกจ กล่าวได้ว่าสามารถติดตั้งแพ็กเกจที่ใช้งานใน Debian Linux และ Ubuntu Linux ได้เกือบทุกแพ็กเกจ
NOOBS คืออะไร?
เป็นเครื่องมือในการช่วยติดตั้งระบบปฏิบัติการให้ Raspberry Pi ทำให้สามารถติดตั้งได้ง่ายกว่าแบบเดิมๆ ในอดีตมากมาย
เรามาเริ่มการติดตั้ง Raspbian OS บน Raspberry Pi 3 Model B+ กันเลย
- ดาวน์โหลด NOOBS ที่
https://www.raspberrypi.org/downloads/noobs/
2. Format Micro SD Card โดยมี File System เป็น FAT32
3. แตก Zip ไฟล์ไปที่ Micro SD Card ที่เราจะใช้ลง OS
4. นำ Micro SD Card มาใส่เครื่อง Raspberry Pi 3 Model B
5. เปิดเครื่อง Raspberry Pi
6. จะพบหน้าจอการติดตั้ง ให้เลือกระบบปฏิบัติการ Raspbian แล้วกด Install
7. รอจนเสร็จ โดยระบบจะมี Default คือ
Username: piPassword: raspberry
การ Update และ Upgrade ระบบ
- Update
sudo apt-get update
2. Upgrade
sudo apt-get full-upgrade
การใช้งานผ่าน PuTTy เพื่อ Remote Desktop ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น
- เปิด Terminal พิมพ์คำสั่ง
sudo raspi-config
2. เลือก Interfacing Options แล้วเลือกเปิดใช้งาน SSH
3. เลือก Yes แล้วกด OK
4. เสร็จสิ้น
การใช้งานผ่าน Remote Desktop
- เปิด Terminal
- ติดตั้งโปรแกรมสำหรับ Remote Desktop
sudo apt-get install xrdp
การทำ Static IP
- เปิด Terminal
- แก้ไขไฟล์ /etc/dhcpcd.conf โดย
sudo nano /etc/dhcpcd.conf
3. เพิ่มข้อมูลหมายเลข IP Address ที่เราต้องการลงไปที่บรรทัดสุดท้าย
# ตั้งค่าสำหรับล็อคไอพี LAN
interface eth0
static ip_address=192.168.1.50/24
static routers=192.168.1.1
static domain_name_servers=8.8.8.8# ตั้งค่าสำหรับล็อคไอพี WiFi
interface wlan0
static ip_address=192.168.1.51/24
static routers=192.168.1.1
static domain_name_servers=8.8.8.8
4. ทำการรีบุทเครื่อง
sudo reboot
5. เสร็จสิ้น
การเปลี่ยนรหัสผ่านเข้าใช้งานเครื่อง
- เปิด Terminal พิมพ์คำสั่ง
sudo raspi-config
2. เลือก Change User Password
3. เลือก OK แล้วใส่ Password ที่เราต้องการลงไป
4. เสร็จสิ้น